ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บทุกวันนี้ หลายโรคที่แพทย์เราสามารถวินิจฉัยได้จากอาการและการตรวจร่างกาย แต่ก็มี
อีกหลายโรคไม่สามารถวินิจฉัยได้ทันที หรือการรออาการที่ชัดเจนอาจไม่ทันการในการรักษา ในทางการแพทย์
แผนปัจจุบันได้มีการพัฒนาการตรวจทางห้องปฏิบัติการมาเป็นส่วนสนับสนุนทางการแพทพ์เพื่อให้ได้ข้อมูล
มาให้แพทย์ได้ประกอบการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็ป จะใช้สารคัดหลั่งจากผู้ที่ต้องการตรวจ มาทำการวิเคราะห์ ได้แก่
เลือด น้ำเหลือง พลาสม่า ปัสสาวะ อุจจาระ เสมหะ น้ำลาย น้ำอสุจิ น้ำไขสันหลัง น้ำข้อเข่า น้ำหนองจากแผล
ผิวหนัง เส้นผม เป็นต้น เมื่อได้ผลการวิเคราะห์มาแล้ว ทางห้องปฏิบัติการนำส่งผลให้กับแพทย์ เพื่อนำผล
ที่ได้มาประกอบการวินิจฉัย เพื่อวางแผนการรักษา
แต่ท่านทราบหรือไม่ การตรวจบางอย่างก็ต้องมีการเตรียมตัว ก่อนเขารับการเจาะเลือดด้วยเราต้องเตรียมตัว
กันอย่างไรและประโยชน์ที่ได้มีอะไรบ้าง
การตรวจเลือด
• ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนตรวจ
ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหมจนเกินไป งดดื่มสุรา งดยาบางชนิด (ควรปรึกษา
แพทย์ก่อนทุกครั้ง) ท่านสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
ยกเว้นในการตรวจหาปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือดควรงดอาหารนาน 8–12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด
(ดื่มน้ำเปล่าได้)
แต่จากประสบการณ์ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำถึงแม้ไม่ได้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็ควรงดทานอาหาร
ก่อนการเจาะเลือดอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะหากทานอาหารไปก่อนการเจาะเลือดบางครั้งเลือดที่ได้จะมี
ลักษณะขุ่มขาวคล้ายน้ำนม เรียก Lipimic serum เนื่องจากจากดูดซึืมของร่างกาย จะมีส่วนทำให้เกิดการ
แปรปรวนของผลการทดสอบได้บ้างจากความขุ่มของไขมันที่ถูกดูดซึมเข้าสุ่กระแสเลือด
• ตรวจเลือดแต่ละครั้งต้องใช้เลือดปริมาณเท่าไร
ใช้เลือดประมาณ 8–10 ซีซี ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณเลือดในร่างกายที่มีทั้งหมดประมาณ 5,000
ซีซี ดังนั้นจึงไม่มีผลเสียต่อร่างกาย ส่วนการบริจาคเลือดแต่ละครั้งผู้บริจาคจะเสียเลือดประมาณ 400 ซีซี.โดย
ที่ไม่มีอันตรายใด ๆ
โดยปกติการตรวจน้ำตาลในเลือดจะใช้เลือดประมาณ 1- 2 ซีซี / การตาวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
จะใช้เลือดประมาณ 1- 2 ซีซี. / การตรวจทางเคมีคลีนิคอื่นขึ้นกับชนิดของการทดสอบแต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่
เครื่องตรวจวัดปัจจุบันใช้ตัวอย่างเลือดน้อยลงกว่าเดิม เฉลี่ยเลือดที่ใช้ก็ประมาณ 5 ซีซี.
• ใช้เวลาเท่าไรจึงจะทราบผล
ประมาณ 1 ชั่วโมง สำหรับการตรวจเลือดตามปกติ เช่น การตรวจเม็ดเลือด การตรวจสมรรถภาพของตับและ
ไต ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด แต่สำหรับการตรวจพิเศษบางอย่างอาจต้องใช้เวลานานเป็นวันจึงจะทราบ
ผล เช่น ผลการเพาะเชื้อจากเลือด ( Hemo culture) เป็นต้น
• เลือดที่ถูกเจาะไป ใช้ตรวจอะไรได้บ้าง
- ตรวจนับเม็ดเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเลือด เช่น ทาลัสซีเมีย ลิวคีเมีย
- ตรวจสมรรถภาพของตับ ช่วยในการหาสาเหตุของภาวะดีซ่าน ช่วยวินิจฉัยโรคตับ เช่น
- ตรวจสมรรถภาพของไต ช่วยในการวินิจฉัยโรคของไต เช่น ภาวะไตวาย
- ตรวจระดับไขมันในเลือด ช่วยในการวินิจฉัยภาวะไขมันในเลือดสูงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือด
หัวใจอุดตัน
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยในการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ตรวจหาปริมาณฮอร์โมน ช่วยวินิจฉัยโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ
- ตรวจหาโรคติดเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส
- ตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคออโตอิมมูน เช่น โรคเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
- การตรวจทางด้านอินมุโน เช่น ตรวจหาแอนติบอดีย์ต่อไวรัส HIV การตรวจหาไวรัสตับ
อักเสบชนิด A/B/C
การตรวจหาแอนติบอดีย์ต่อไวรัส HIV สามารถเลือกใช้ชนิด เลือดครบส่วนจากปลายนิ้ว /
ซีรั่ม / พลาสม่า ขึ้นกับชนิดของชุดทดสอบ
ส่วนการตรวจหาแอนติเจนต่อไวรัส HIV มักจะใช้ซีรั่ม ในการตรวจ
- การตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส
นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอีกหลายชนิดซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้พิจารณาส่งตรวจตามความเหมาะสม
• นอกเหนือจากการตรวจน้ำตาลในเลือด มีการตรวจอะไรที่ช่วยติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
ดีกว่า การตรวจระดับ Hemoglobin A1C จะสามารถช่วยติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
กว่าการตรวจน้ำตาลในเลือดเพียงอย่างเดียว เนื่องจากสามารถบอกได้ถึงระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยภาย
ในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา (ช่วยให้แพทย์ประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยที่ผ่านมาย้อนหลัง
ไปว่า เรียบร้อยสม่ำเสมอหรือไม่ ตามคำแนะนำหรือไม่ ผู้ป่วยบางรายมักจะไม่ค่อยเชื่อฟัง เผลอตามใจปาก
ทานเกินกว่าที่ควรจะเป็น แต่พอก่อนมาเจาะเลือดตามนัดกลัวแพทย์จะตำหนิ ก็จะอดอาหารทำตัวเรียบร้อย
เพราะกลัวผลเลือดจะฟ้อง ทำให้การรักษาไม่ได้ผลเต็มทีซึ่งก้จะเป็นผลเสียต่อคนไข้เอง)
• การตรวจเลือดสามารถบอกถึงสาเหตุโลหิตจางได้หรือไม่ได้บางชนิด
เช่น ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคโลหิตจางทาลัสซีเมีย ภาวะการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง
เป็นต้น
• โรคหัวใจวินิจฉัยด้วยการตรวจเลือดได้หรือไม่
ได้ เพราะจากประวัติการเจ็บหน้าอก การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ร่วมกับการตรวจเลือด
การตรวจเลือดที่เกียวกับการวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับหัวใจเช่น CPK, CK-MB, LDH , SGOT , Troponin
เป็นต้น
การตรวจเลือดเอดส์มีขั้นตอนอย่างไร
ปกติเมื่อไปตรวจเลือดเอดส์ ทางสถานบริการจะมี pattern หรือแนวทางการทดสอบในมาตราฐานที่คล้ายกัน
ทั้งนี้ก็เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการผิดพลาด และให้มีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด เนื่องจากเป็นการทดสอบที่มี
ความละเอียดอ่อนมากกว่าการทดสอบทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ สถานบริการในแต่ละที่ อาจต่างกันที่ชนิดของ
น้ำยาที่นำมาใช้ในการทดสอบ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานบริการของแต่ละสถานที่บริการนั้นๆ
ประสิทธิภาพของชุดทดสอบที่นำมาใช้ ทุกผลิตภัณฑ์จะต้องผ่านการรับรองจาก อย.ของกระทรวงสาธารณสุข
แล้วเท่านั้นถึงนำมาใช้ทดสอบในประเทศได้ ทำให้มั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าผลการตรวจมีความไวและความ
จำเพาะที่เชื้อถือได้
สถานบริการก็จะตรวจแบบ "ตรวจขั้นต้น" หรือที่เรียก " ตรวจคัดกรอง " ใช้วิธี ELISAโดยตรวจแอนติบอดี
( ภูมิคุ้มกัน ) ก่อน ถ้าให้ ผลบวก ก็จะตรวจยืนยันโดยวิธี western blot assay หรือ ปัจจุบันก็จะใช้หลัก
มาตราฐานของ WHO โดยการใช้ชุดตรวจคัดกรองขั้นต้น 2 วิธีที่มีคุณลักษณ์ที่แตกต่างกันมาใช้ในการ
ทดสอบ ดุจาก (Flow chart) จากผลการตรวจที่ได้ ประกอบการซักประวัติและการตรวจร่างกายโดยแพทย์
จึงจะบอกได้ว่า "เลือดเอดส์ให้ผลบวก" การตรวจคัดกรองใช้เวลาประมาณ 15 นาที – 2 ชม (ขึ้นอยุ่กับวิธีที่
ใช้ในการตรวจ (ราคาค่าใช้จ่ายก็อาจแตกต่างกันไป).
แต่ถ้าตรวจยืนยันด้วยวิธี western blot ก็แล้วแต่สถานที่ บางแห่ง 7 วันก็รู้ผล บางแห่ง ก็นัดเป็นเดือนก็มี
ต้องเตรียมตัวก่อนตรวจอย่างไร ต้องอดอาหารไหม
ไม่ต้องเตรียมตัวใดๆทั้งสิ้น แต่ต้องเตรียมเงินกับเตรียมใจ เพราะผลการตรวจเลือดเอดส์ไม่เหมือนการตรวจ
เลือดอย่างอื่น ถ้าผลเป็นบวก คนที่มีภาวะจิตใจไม่เข้มแข็งอาจหวั่นไหว หมดหวังท้อแท้ หรือตัดสินใจผิดๆ
อาจเป็นที่รังเกียจ อาจถึงกับถูกไล่ออกจากงาน บริษัทประกันบางแห่งอาจไม่รับประกัน ถ้าไม่บอกผลตรวจเอดส์
หรือ ถ้าได้ผลบวก
ดังนั้นก่อนไปตรวจเลือดจึงต้องเตรียมจิตใจให้ดีว่า ถ้าผลเลือดเป็นบวก เราจะรับสภาพได้ไหม จะเกิดอะไรขึ้น
จะวางแผนรับมืออย่างไร ถ้ามีแฟน มีภรรยา เราจะทำอย่างไร จะมีบุตรไหม จะบอกกับใครบ้าง จะต้องดูแล
ตนเองอย่างไร
เตรียมใจอย่างไร ก่อนไปตรวจเลือด
ในกรณีที่เกิดความเสี่ยงเกิดขึ้นมาแล้ว หากมาตกอยู่ในความกังวลตลอดเวลาย่อมไม่เกิด
ประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเราเป็นแน่ทางออกก็คือตรวจเลือดให้แน่ชัดไปเลย
เท่านั้น
แต่ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะตรวจเลือดดีมั้ย ให้ทำการศึกษาหาความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับไวรัส
HIV โรคเอดส์ จากแหล่งต่างๆให้เข้าใจเรื่องนี้ให้ดีเสียก่อนครับ จากนั้น
คุณลองถามใจตัวเองก่อนว่า หากผลการตรวจเลือด พบว่า คุณมีเชื้อเอชไอวี
คุณจะทำใจยอมรับได้หรือไม่
ความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด
คุณมีคนที่คุณจะคุยด้วยหรือไม่
จะเกิดปัญหาอื่นใดตามมาอีกบ้าง
คุณมีทางออกสำหรับปัญหาเหล่านั้นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม คุณมีสิทธิที่จะตัดสินใจตรวจ หรือไม่ตรวจก็ได้
การตรวจเลือดเป็นสิทธิในชีวิตและร่างกายตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 31 การบังคับตรวจเลือด
ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งการตรวจสุขภาพประจำปีพนักงาน การรับเข้าทำงาน หรืออื่นๆ ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
ส่วนบุคคล มีความผิดตามกฎหมาย
ความจริงคือ การเข้าสู่ขบวนการตรวจที่ถูกต้อง หากผลออกมาเป็นลบ เราจะได้ยกภูเขาออกจากอก เราได้เสียที
เก็บความรู้สึกนี้ไว้กับตัวเราไว้ครับ ไว้เตือนใจในกรณีที่คิดจะเสี่ยงอีก
หากผลตรวจออกมาเป็นบวก ตามขบวนการแล้ว อย่างน้อยเป็นประโยชน์ต่อตัวเราในแง่ที่ว่า หากทราบและเข้า
สู่ขั้นตอนการรักษาได้เร็วมากเท่าไร ก็จะช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข สามารถป้องกันผู้อื่น และคนที่
เรารักไม่ต้องเสี่ยงได้รับเชื้อจากเราต่ออีกด้วย