https://www.high-endrolex.com/12
https://www.high-endrolex.com/12
6 วิธี ดูแลเท้าสกัดแผล “เบาหวาน” เลี่ยงถูกตัดขา

ผู้อำนวยการ  


นายโมทน์  ฝอยทอง
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
โทรศัพท์:086-488-6966

   

มี 22 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

   
 

/data/content/26473/cms/e_acfgklopw257.jpg

                            6 วิธี ดูแลเท้าสกัดแผล “เบาหวาน” เลี่ยงถูกตัดขา

          หมอแนะ 6 วิธีดูแลสุขภาพเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันการเกิดแผลแบบไม่รู้ตัว เหตุเลือดเลี้ยงน้อย ปลายประสาทเสื่อม ชี้หากลุกลามอาจถูกตัดขา

          นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักพบภาวะแทรกซ้อนตามระบบและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาและวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่ระยะแรก ก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนเป็นเหตุให้สูญเสียอวัยวะต่างๆ โดยผู้ป่วยควรสังเกตความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะเท้า เพราะเมื่อเป็นเบาหวานมานานจะทำให้เส้นเลือดส่วนปลายที่มาเลี้ยงขาและเท้าตีบ ร่วมกับมีการเสื่อมของเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้มีโอกาสเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย

          เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณแผล จึงมีโอกาสเกิดการลุกลามและเรื้อรังของแผล นำไปสู่การตัดขาในที่สุด ทั้งนี้ ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยเบาหวานมีประสบการณ์การเกิดแผลที่เท้า จำนวนนี้ร้อยละ 14-24 ต้องถูกตัดขา ดังนั้น การป้องกันการเกิดแผลที่เท้าจะช่วยลดอัตราการตัดขา ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาระครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลระยะยาว

          นพ.สุพรรณกล่าวว่า ผู้ป่วยเบาหวานชายมีความเสี่ยงเกิดแผลที่เท้ามากกว่าผู้หญิง โดยปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ระยะเวลาการเป็นเบาหวานนานกว่า 15 ปี ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้ความสามารถของเม็ดเลือดขาวกำจัดเชื้อโรคลดลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ได้แก่ ภาวะทางหัวใจ ทางสายตามีปัญหาการมองเห็น และทางไต มีความผิดปกติของเส้นประสาทและเส้นเลือดส่วนปลาย ได้แก่ การชาปลายมือ ปลายเท้า ทำให้ประสาทสัมผัสการป้องกันการเกิดแผลเสียไป เท้าผิดรูป ทำให้การลงนํ้าหนักที่เท้าผิดปกติ การสูบบุหรี่มีผลทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน เคยมีประวัติการเกิดแผลที่เท้ามาก่อน พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่เคยมีแผลที่เท้ามาก่อน มีโอกาสการเกิดแผลที่ตำแหน่งเดิมภายในระยะเวลา 2-5 ปี

       “วิธีดูแลเท้า คือ 1. อย่าเดินเท้าเปล่า เพราะถ้าเหยียบถูกของมีคม หนามแหลมหรือของร้อน จะเป็นแผลแบบไม่รู้ตัว 2. การตัดเล็บเท้า ควรตัดออกตรงๆ อย่าตัดโค้งหรือตัดถูกเนื้อ 3. ถ้าเป็นหูดตาปลา หรือตุ่มน้ำที่เท้า ไม่ควรทำเอง ทั้งแกะ ตัดออก ใช้เข็มบ่งตุ่มพอง ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ชะแผล ควรล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซและพลาสเตอร์อย่างนิ่ม อย่าปิดด้วยพลาสเตอร์ธรรมดา

          4. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ หลังจากทำกิจกรรมทุกครั้ง โดยต้องเช็ดให้แห้งโดยเฉพาะตรงซอกเท้าและห้ามถูแรงๆ 5. อย่าสวมรองเท้าหรือถุงเท้ารัดแน่นเกินไป 6. หากพบอาการผิดปกติบริเวณเท้า เช่น สีของเท้าเปลี่ยนแปลง รู้สึกเจ็บปวด ไม่สบายเท้า ผิวหนังที่เท้าแตก หรือมีนํ้าเหลืองไหล เท้าบวม ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพราะหากรักษาช้าและไม่ถูกวิธีอาจถึงขั้นต้องตัดขาทิ้ง” อธิบดีกรมแพทย์กล่าว

   
https://www.high-endrolex.com/12